วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

GIS VS Web-Service

            ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information Systems (GIS) คือ ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถดัดแปลงแก้ไขและวิเคราะห์ และแสดงผลการวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้เห็นมิติและความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ของข้อมูล ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา และประกอบการตัดสินใจในการปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่
           เนื่องจากชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ โดยทั่วไปจะมีความเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ไม่มากก็น้อย การตัดสินใจใดๆก็ตาม มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านภูมิศาสตร์เสมอ เทคโนโลยี GIS สามารถช่วยในการจัดการและบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่ พร้อมทั้งทำให้สามารถเข้าใจในความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในเทคโนโลยี GIS ทำให้ผู้ใช้สามารถลดเวลาที่ต้องเสียไปในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มาก เช่นเดียวกับการที่สำนักพิมพ์นำเสนอข่าวสารต่างๆได้อย่างรวดเร็วและในราคาถูก เทคโนโลยี GIS ก็จะสามารถทำให้ข้อมูลเชิงพื้นที่เป็นที่แพร่หลายและแพร่กระจายไปสู่ผู้ใช้ต่าง ๆ ได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดต้นทุนของการผลิตการปรับปรุง และการเผยแพร่ข้อมูล นอกจากนี้ เทคโนโลยี GISยังสามารถเปลี่ยนรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่โดยเปลี่ยนวิธีการนำเสนอและการใช้ประโยชน์ข้อมูลเชิงพื้นที่เหล่านั้น ข้อมูลเชิงพื้นที่นับว่าเป็นข้อมูลที่สามารถดัดแปลงให้มีความเหมาะสมกับความต้องการด้านต่างๆได้ง่ายโดยการนำเสนอ เทคโนโลยี GIS เข้ามาช่วย อีกทั้งในปัจจุบันการเข้าถึงที่รวดเร็วและเป็นปัจจุบันมากที่สุดคงไม่พ้นผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถให้บริการข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านระบบออนไลน์ ด้วยเทคโนโลยี "Web Service"
ตัวอย่าง
ระบบweb-serviceในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด โดยการนำเทคโนโลยีGIS มาช่วยในการแสดงผลข้อมูล โดยการทำวีดีทัศน์และข้อมูลสารสนเทศ จะนำ GISมาช่วยในการแสดงที่ตั้งและอาณาเขตของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ โดยแบ่งโซนการท่องเที่ยวออกเป็นแต่ละประเภท โดยใช้สีที่แตกต่างกัน เช่น
สีเขียว แทนด้วย  สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
สีขาว  แทนด้วย  สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา
สีดำ    แทนด้วย  สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังนำ GIS มาแนะนำโซนของสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม สถานที่ท่องแนะนำ สถานที่ท่องเที่ยวใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี ในรูปแบบของการใช้สีที่แตกต่างกันได้ด้วย เช่น สีเหลือง สีแดง  

 ข้อดีของการนำWeb-serviceมาประยุกต์ใช้กับระบบGIS

  • ·ข้อมูลมีขนาดใหญ่ ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง จึงจะสามารถใช้งานได้ การให้บริการด้วย web service จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดา , Smart Phone , Tablet , iPad , iPhone สามารถใช้งาน GIS ได้
  • ข้อมูล GIS มีความซับซ้อน ยากต่อการนำไปใช้ของคนทั่วไป การให้บริการด้วย web serviceจะทำให้ผู้ใช้บริการ ที่ไม่มีความรู้อะไรมากมายเกี่ยวกับ GIS สามารถใช้งาน GIS ได้
  • รูปลักษณ์รูปแบบในการใช้งาน เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ในทุกๆเครื่องมือ  เนื่องจากเครื่องมือต่างๆ ดึงข้อมูลไปจาก Web Service เดียวกัน ทำให้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยใช้งานได้ง่ายๆ กับทุกๆ เครื่องมือ
  • ปลอดภัยต่อการโจรกรรมข้อมูลทั้งฐานข้อมูล  เนื่องจากการบริการข้อมูลด้วย Web Serviceเครื่องแม่ข่ายให้บริการข้อมูลเฉพาะส่วนของข้อมูล ที่แสดงผลอยู่บนหน้าจอ ณ ขณะนั้นเท่านั้น ข้อมูลอื่นๆ นอกเหนือจากนั้น ไม่สามารถทำอะไรได้ จึงปลอดภัยต่อการ copy data
  • สะดวกและง่ายต่อการพัฒนาโปรแกรมร่วมกัน เนื่องจากผู้พัฒนาโปรแกรม สามารถนำ Serviceไปพัฒนาต่อยอดได้เลย

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบ ได้แก่
  • ความเสี่ยงจากผู้ปฏิบัติงาน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากใช้งาน  การจัดความสำคัญในการเข้าถึง ข้อมูลไม่เหมาะสมกับการใช้งานหรือการให้บริการ โดยผู้ใช้อาจเข้าสู่ระบบสารสนเทศ หรือใช้ข้อมูลต่างๆ  ของกรมเกินกว่าอำนาจหน้าที่ของตนเองที่มีอยู่  และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลสารสนเทศได้
  • ความเสี่ยงจากภัยหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดจากภัยพิบัติ ตามธรรมชาติหรือสถานการณ์ร้ายแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงกับข้อมูล และสารสนเทศ เช่น  ไฟฟ้าขัดข้อง น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น
  • ความเสี่ยงด้านเทคนิค เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องมือและอุปกรณ์เอง อาจเกิดถูกโจมตีจากไวรัสหรือโปแกรมไม่ประสงค์ดี  ถูกก่อกวนจาก Hacker ถูกเจาะทำลายระบบจาก Cracker


  • ที่มา : http://it-wicos.blogspot.com/2013/09/gis-vs-web-service.html





วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2558

ด้านการบริการที่อยู่อาศัย โดย การเคหะแห่งชาติ

ด้านการบริการที่อยู่อาศัย โดย การเคหะแห่งชาติ 

   
  การเคหะแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจหลักในการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่อยู่อาศัยตลอดจนถึงการร่วม แก้ไขปัญหาชุมชน สนับสนุน ส่งเสริม ความมั่นคงในการอยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองของประเทศ รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ผู้มีรายได้น้อย รายได้ปานกลาง และผู้ด้อยโอกาส สร้างสรรค์สังคม ให้เข้มแข็งและน่าอยู่อย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย ประกอบด้วย
     ๑. การพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางทั้งในโครงการเคหะชุมชน โครงการฟื้นฟูเมือง โครงการบ้านเอื้ออาทร โครงการที่พักอาศัยสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวมทั้งจัดทำที่พักอาศัยให้แก่ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร และพลเรือน
     ๒. การแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด เป็นการปรับปรุงชุมชนแออัดในที่ดินเดิม โดยพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในชุมชนให้ดีขึ้น และการจัดหาที่อยู่ใหม่ เป็นการจัดหาที่อยู่อาศัยใหม่ให้แก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีไฟไหม้ ไล่ที่ หรือถูกเวนคืนที่ดิน ฯลฯ
     ๓. การบริการชุมชน เป็นการส่งเสริมการอยู่อาศัยในชุมชนให้มีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนให้สามารถดูแลและพัฒนาที่อยู่อาศัยของ ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ๔. บทบาททางวิชาการและทาง การศึกษาวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางด้านที่อยู่อาศัย โดยใช้ข้อมูลและความรู้ทางวิชาการด้านที่อยู่อาศัยในการกำหนดนโยบายและวาง แผนพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการ ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีสภาพการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น
     สำหรับโครงการบ้านเอื้ออาทร เป็นโครงการที่ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการจัดสร้างที่อยู่อาศัยที่ได้ มาตรฐานสำหรับประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการชั้นผู้น้อย และพนักงานหน่วยงานของรัฐ ที่มีรายได้ต่อครัวเรือนไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน ณ ปี ๒๕๔๖ – ๒๕๔๗ ไม่เกิน ๑๗,๕๐๐ บาทต่อเดือน ณ ปี ๒๕๔๘ ไม่เกิน ๒๒,๐๐๐ บาทต่อเดือน ณ ปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ ไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน ณ ปี ๒๕๕๑ และไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาทต่อเดือน ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นไป โดยจัดสร้างที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี จำนวน ๖๐๑,๗๒๗ หน่วย ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ – ๒๕๕๐ ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการปรับลดจำนวนหน่วยก่อสร้างเหลือ ๓๐๐,๕๐๔ หน่วย เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ และเพื่อให้เป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการเพื่อพลิกฟื้นฐานะ ทางการเงินของการเคหะแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ ให้ปรับลดหน่วยก่อสร้างใหม่เหลือ ๒๘๑,๕๕๖ หน่วย ซึ่งในการดำเนินโครงการบ้านเอื้ออาทร รัฐบาลได้ให้การอุดหนุนต้นทุนค่าพัฒนาระบบสาธารณูปโภค หน่วยละ ๘๐,๐๐๐ บาท

ที่มา: http://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=261

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

เผยผู้ใช้รถชาวจีนเสียเวลาไปกับรถติดเฉลี่ย 9 วันหรือ 220 ชั่วโมงต่อปี

  • Honda-Brio-Prototype-Large
ปัญหาการจราจรของประเทศจีนทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากการขยายตัวของตลาดรถยนต์อย่างก้าวกระโดดและการเคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองใหญ่ของประชากร บริษัทผู้ผลิตระบบนำทาง TomTom ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการจราจรของแดนมังกรที่น่าสนใจหลายด้าน
นักวิจัยของ TomTom พบว่าผู้ขับขี่รถยนต์ชาวจีนต้องสูญเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์เฉลี่ยคนละ 9 วันเต็มหรือกว่า 220 ชั่วโมงต่อปีที่ต้องติดแหงกอยู่บนท้องถนนที่มีการจราจรหนาแน่นตลอดทั้งวัน โดยเมืองที่มีปัญหาการจราจรมากที่สุดคือ เทียนจิน (อย่างที่เห็นในภาพ)
TomTom ระบุว่าผู้ขับขี่ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางในช่วงเวลากลางวันเพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาค่ำคืน แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาเร่งด่วนจะต้องใช้เวลาเดินทางมากขึ้นเกือบเท่าตัวหรือราว 95% เลยทีเดียว
ขณะที่การจราจรในช่วงเวลากลางวันของอีกสองเมืองใหญ่อย่างหางโจวและปักกิ่งก็ติดขัดเพิ่มขึ้น 47% และ 43% ตามลำดับ
ไม่เพียงในเมืองจีนเท่านั้น TomTom เปิดเผยผลงานสำรวจการจราจรในเมืองลอสแองเจลิสของสหรัฐอเมริกาด้วย ซึ่งความหนาแน่นของรถจะเพิ่มขึ้น 36% ในช่วงเวลากลางวันและ 75% ในช่วงเวลาเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวถ้าเทียบกับเมืองจีนแล้วถือว่าอยู่ในลำดับที่ 11 เท่านั้น ใกล้เคียงกับการจราจรในเมืองเฉินหยาง
ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนออกกฎหมายหลายฉบับเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร ทั้งการเก็บค่าผ่านทางเข้าสู่ตัวเมืองในบางเวลาและการจำกัดปริมาณรถยนต์ลง แต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถแก้ไขได้ตรงจุดนัก

ที่มา : http://www.autospinn.com/2014/07/chinese-motorist-loses-9-days-year-stuck-traffic/

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

fb
Zocial Rank,บริการจัดอันดับ social media ภายใต้บริษัท Zocial inc.  ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้ทำการตลาดผ่าน Facebook หรือผู้ใช้ทั่วไปออกมาในรูปแบบ info-graphic โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังนี้
Screen Shot 2557-03-24 at 10.35.56 AM
  • ในปี 2013 ประชากรใน Facebook มีทั้งหมดประมาณ 1,146 ล้านคนทั่วโลกและในต้นปี 2014 ที่ผ่านมา ประชากร Facebook โลกได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 3% เป็นทั้งหมด 1,191 ล้านคนทั่วโลก
Screen Shot 2557-03-24 at 10.36.18 AM
  • ประเทศไทยมีจำนวนประชากร Facebook มากเป็นอันดับ 3 ของโลก  เป็นรองประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนิเซีย โดยมีประชากร Facebook อยู่ที่ 26 ล้านคน เพศชาย ทั้งหมดประมาณ 12.7 ล้านคน(48.78%) , ประชากร เพศหญิง ทั้งหมดประมาณ 13.3 ล้านคน (51.22%)
Screen Shot 2557-03-24 at 10.36.06 AM
  • ประชากร Facebook ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพ มหานครฯ (ประมาณ 14.4 ล้านคน) รองลงมาเป็น เชียงใหม่ (ประมาณ 860,000 คน) และชลบุรี (ประมาณ 500,000 คน)
  • พบว่ามีผู้ใช้ที่เป็น Active User 85.63% และอีก 14.37% เป็น Inactive User
Screen Shot 2557-03-24 at 10.36.31 AM
  • ช่วงเวลาที่มีปฏิสัมพันธ์ (Like , Comment, Share) มากที่สุดคือช่วง 14.00 น. (490,000 ปฏิสัมพันธ์)
  • หมวดหมู่ที่ได้รับ Engagement สูงสุดและช่วงเวลาที่มีคน Engagement สูงสุด
  1. รถยนต์                       ช่วงเวลาที่มี Engagement สูงสุด                             10.00 น.
  2. การเมือง                    ช่วงเวลาที่มี Engagement สูงสุด                             23:00 น.
  3. สื่อทั่วไป                    ช่วงเวลาที่มี Engagement สูงสุด                             22:00 น.
ที่มา - zocialinc