ผลการเคลื่อนที่จากแผ่นธรณีภาค
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคทำให้ผิวโลกค่อนข้างเรียบในยุคสมัยแรกๆ ที่โลกถือกำเนิดขึ้้น
มากลายเป็นโลกที่มีส่วนสูงๆ ต่ำๆ ของภูเขา หุบเหว ที่ราบสูง ที่ราบต่ำ และแอ่งขนาดใหญ่ที่รองรับ น้ำ คือ ทะเลและมหาสมุทร ตลอดจนแหล่งน้ำต่างๆ บนพื้นดิน เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร ซึ่ง ปรากฎให้เห็นทุกหนทุกแห่งทั่วโลก
นอกจากนี้การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคก็ยังก่อให้เกิดแรงอัด แรงดึง และแรงเฉือนในชั้นหิน
ทำให้เกิดรอยคดโค้งหรือรอยเลื่อนในชั้นหินที่ประกอบด้วยกันเป็นเปลือกโลกได้
1. รอยคดโค้ง
รอยคดโค้ง (fold) ของหินโผล่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนลักษณะที่เกิดจากผลของ
แรงเค้น จนเกิดความเครียดในหินโดยแสดงออกในรูปของการคดโค้ง โก่งงอ หรือหักพับ รอยคดโค้งมีได้ทั้งขนาดเล็กแบบดูด้วยตาเปล่าไม่เห็น (microscopic scale) ขนาดเท่ากับฝ่ามือ (mesoscale) หรือใหญ่ (macroscopic หรือ regional scale) จนปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศหรือ ภาพโทรสัมผัสได้ การเกิดชั้นหินคดโค้งจึงต้องเกิดในสภาวะที่หินมีลักษณะอ่อนนิ่ม สามารถ เคลื่อนตัวไหลและยืด ชั้นหินที่แข็งแรงแสดงชั้นชัดเจนเกิดการโค้ง มักแสดงการโค้งแบบการไหล เลื่อนไปตามชั้น (layer-parallel slippage) เหมือนการโค้งพับหนังสือ แต่สำหรับชั้นหินที่อ่อนนิ่ม การโค้งมักแสดงในรูปไหลลื่นยืดออก หรือบางครั้งเกิดการละลายความดันในส่วนที่เป็นรอยแตก เรียบได้ โครงสร้างของรอยคดโค้งแบ่งได้เป็น โครงสร้างประทุนคว่ำ (anticline) และโครงสร้าง ประทุนหงาย (syncline) โดยชั้นหินแก่อยู่ล่างชั้นหินอ่อน แต่ถ้ายังไม่สามารถลำดับอายุของชั้น หินได้ควรเรียกเพียง antiform หรือ synform
2.รอยเลื่อน
รอยเลื่อน ( fault) หรือ แนวรอยเลื่อน (fault line) เป็นรอยแตกระนาบ (planar fracture)
ในหิน ที่หินด้านหนึ่งของรอยแตกนั้นเคลื่อนที่ไปบนหินอีกด้านหนึ่ง รอยเลื่อนขนาดใหญ่ในชั้น เปลือกโลกเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันหรือเฉือนกันและเขตรอยเลื่อนมีพลัง (active fault zone) เป็นตำแหน่งที่ไม่แน่นอนของการเกิดแผ่นดินไหวทั้งหลาย แผ่นดินไหวเกิด จากการปล่อยพลังงานออกมาระหว่างการเลื่อนไถลอย่างรวดเร็วไปตามรอยเลื่อน รอยเลื่อนหนึ่งๆ ตามแนวตะเข็บรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกของการแปรสัณฐาน (tectonic) สองแผ่นเรียกว่า รอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่ (transform fault)
ด้วยปรกติแล้วรอยเลื่อนมักจะไม่เกิดขึ้นเป็นรอยเลื่อนเดี่ยวอย่างชัดเจน คำว่า “เขตรอยเลื่อน”
(fault zone) จึงถูกนำมาใช้เมื่อกล่าวอ้างถึงเขตที่มีการเปลี่ยนลักษณะที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นร่วมกับ
ระนาบรอยเลื่อน ด้านทั้งสองของรอยเลื่อนที่ไม่วางตัวอยู่ในแนวดิ่งเรียกว่า “ผนังเพดาน” (hanging wall) และ “ผนังพื้น” (foot wall) โดยนิยามนั้นหินเพดานอยู่ด้านบนของรอยเลื่อนขณะ ที่หินพื้นนั้นอยู่ด้านล่างของรอยเลื่อน นิยามศัพท์เหล่านี้มาจากการทำเหมือง กล่าวคือเมื่อ ชาวเหมืองทำงานบนมวลสินแร่รูปทรงเป็นแผ่นเมื่อเขายืนบนหินพื้นของเขาและมีหินเพดาน แขวนอยู่เหนือเขานั่นเอง
3.ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ
ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจาก
พื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1.ภูเขาโก่งตัว เกิดจากการบีบอัดตัวของหินหนืด ในแนวขนาน
2.ภูเขาเลื่อนตัวหรือหักตัว เกิดจากการเลื่อนของหินทำให้มีการยกตัวและการทรุดตัวเกิดเป็น
ภูเขา
3.ภูเขาโดม เกิดจากการที่หินหนืดดันตัว แต่ว่ายังไม่ทันพ้นพื้นผิวของโลก ก็เย็นตัวก่อน
4.ภูเขาไฟ เกิดจากการที่หินละลาย ก่อตัวและทับถมกัน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น