วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

World population 1950-2050 กับที่อยู่อาศัย




               การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่เกิดจากปัจจัยหลักเพียง 2 ประการคือ การเกิด และการตาย ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงของประชากร ในภูมิภาคย่อยๆ เช่น ทวีปหรือประเทศ ที่มีปัจจัยหลักนอกจากการเกิด และการตายแล้ว ยังมีการย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  
               จากการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการขยายตัวของสังคมเมือง และที่อยู่อาศัย เกิดการขยายตัวขึ้นเป็นเมืองขนาดใหญ่ บางเมืองอาจจะขยายใหญ่จนล้นทะลักเขตเมือง และมีเมืองใหม่เกิดขึ้นบริเวณชายขอบ ที่อยู่อาศัยของประชาชนหนาแน่น มีการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น มีตึกอาคารสูงเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น


10 ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก ในปี 2554 
        1. China             1,369 millions   19.84% of world
            2. India               1,201 millions   16.96% of world
            3. United States    304 millions     4.56% of world
            4. Indonesia          232 millions     3.47% of world
            5. Brazil                 187 millions     2.80% of world
            6. Pakistan            163 millions     2.44% of world
            7. Bangladesh      159 millions      2.38% of world
            8. Nigeria              148 millions      2.22% of world
            9. Russia              142 millions      2.13% of world
          10. Japan               128 millions      1.92% of world

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรโลก
        ปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจาก
        1.  การค้นคว้าทางการแพทย์ ที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรค รวมถึงมีองค์การที่เกี่ยวกับการระบาดของโรคและวัฏจักรของการแพร่เชื้อโรค
        2.  ความรู้เรื่องสุขอนามัยของประชากร ประชากรโลกแทบทุกประเทศมีความรู้เรื่องสุขอนามัยมากขึ้นรวมทั้งมีการจัดการระบบ การวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ
        3.  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เช่น ผู้ป่วยสามารถปรึกษาอาการกับแพทย์ ได้ทางโทรศัพท์หรือสื่อต่างๆ หรือ
การให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ผ่านระบบโทรคมนาคมต่างๆ เป็นต้น
       4.  ระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปผู้หญิงเริ่มมีบทบาททางสังคมมากขึ้นทำให้ผู้หญิงทีมีทัศนคติต่อการแต่งงานเป็นด้านลบ ส่งผลให้จำนวนประชากรวัยเด็กลดน้อยลง

ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก 
        1.  ปัญหาการขาดแคลนอาหารและทัพยากร
                   - เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากอาหารและทรัพยากรต่างๆ ย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก่อให้เกิดการขาดแคลนในบางประเทศที่กำลัีงพัฒนา
                   - การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาจทำให้อาหารมีสารพิษปนเปื้อน หรือ ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ
        2.  ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
                   - เมื่อมีการขาดแคลนทรัพยากรเกิดขึ้นทำให้ต้องมีการบุกรุกป่าไม้ เพื่อที่จะหาทรัพยากร ทำให้เกิดการขาดพื้นที่ป่าไม้ และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์
                   - ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมาก มีการปล่อยของเสียสู่ที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชากรโลก และ ทำให้สภาพอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
        3.  ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
                   - เมื่อทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ประชากรกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยกรและการแข่งขันทางสังคมสูงขึ้น
                   - ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม เช่น การขาดการศึกษา สุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดแคลนที่อยู่ และ ปัญหาการว่างงาน
        4.  ปัญหาการขัดแย้งระหว่างประเทศ
                   - ประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว บางประเทศมีนโยบายระบายประชากรออก เเพื่อแสวงหาอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งอาจทำหให้เกิดการขัดแย้งขึ้นประหว่างประเทศ
                   - ก่อให้เกิดปัญหา รุกกล้ำข้ามพรมเดิน หรือ ผู้อพยบเข้ามาอย่างผิดกฏหมาย

อ้างอิง :
http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3882

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

         การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นหลักที่สำคัญอันหนึ่งที่ทาให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แตกต่างจากโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้ในการจัดทาแผนที่เพียงอย่างเดียว หรือจัดทาฐานข้อมูลเพียงอย่างเดียว ซึ่งในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นั้นจะใช้รายละเอียดข้อมูลทั้งที่เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) และข้อมูลเชิงบรรยาย (Non-spatial data) มาใช้ในการวิเคราะห์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อาจจะแบ่งรูปแบบหลักในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 3 รูปแบบคือ
1.การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Analysis of the Spatial Data)
       การแปลงระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Transformation or Projection) เช่น Geographic--lat./log. UTM
       การต่อแผนที่ (Mosaic) หรือการเทียบขอบ (Edge-matching) เป็นวิธีการปรับตาแหน่งรายละเอียดของแผนที่ 2 ระวางขึ้นไปที่อยู่ต่อเนื่องกัน แต่เชื่อมต่อกันไม่สนิท จึงจาต้องทาการปรับแผนที่เพื่อให้เป็นแผนที่ ที่ต่อเนื่องกัน
       คำนวณพื้นที่, เส้นรอบวง และระยะทาง โดยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะคานวณได้อัตโนมัติหลังการทา Topology แล้ว หรือ อาจจะสอบถามผ่านโปรแกรมได้ โดยใช้เครื่องมือหรือคาสั่งในโปรแกรมเพื่อบอกระยะทางและพื้นที่ได้
2.การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย (Analysis of Non-Spatial Data)
         การแก้ไขข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Editing Function) จะสามารถเรียกค้น ตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงข้อมูลสามารถเพิ่มหรือลบข้อมูลได้ รวมถึงการเชื่อมต่อตารางและรวมให้เป็นตารางเดียวกันได้
        การสอบถามข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Query Function) เป็นการเรียกค้นข้อมูลในฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขที่ผู้ใช้ตั้งคาถามแล้วสอบถามโดยใช้วิธีการต่างๆ
        กระบวนการทางสถิติ (Attribute Statistic Function) คำนวณค่าทางสถิติจากตารางข้อมูล เช่น mean, standard deviation, minimum, maximum, correlation etc.
3.การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ร่วมกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Integrated Analysis of the Spatial and Non-Spatial Data)
        การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่จะทาให้ ระบบสารสนเทศมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อาจใช้งานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ ซึ่งจะทาให้การทางานบนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นประกอบด้วย การเรียกค้นข้อมูล, การแบ่งกลุ่มข้อมูล และการวัด (Data retrieval, Classification and Measurement)ในกระบวนการนี้เป็นการทางานร่วมกันกับข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย คือเมื่อเราทาการเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงข้อมูลเชิงบรรยายแล้ว ทาให้ตาแหน่งที่ตั้งหรือข้อมูลเชิงพื้นที่จะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ด้วย

อ้างอิง :
 http://www.bangkokgis.com/bangkokgis_2008

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558

การนำ GIS มาประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านภัยพิบัติ

GIS : Geographic Information System เรียกเป็นไทยว่า ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                  GIS เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือชุดคําสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานตามที่ต้องการโดยโปรแกรมทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่(spatial data) คือข้อมูลที่ทราบตําแหน่งบนพื้นโลกสามารถอ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้(geo-reference) โดยข้อมูลเหล่านี้จะแสดงอยูใน 3 ลักษณะคือจุด(point) เส้น(line) และพื้นที่รูปหลายเหลี่ยม(polygon) และข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปเชิงพื้นที่(non spatial data) ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆ(associated attributes)โดยใช้บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการค้นหาข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผลข้อมูลที่สามารถอ้างกับพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ GIS จะให้สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการทํางานและการตัดสินใจของผู้บริหารในขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายการวางแผน ตลอดจนการนํานโยบายและแผนไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                 การนำ GIS มาประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านภัยพิบัติ สิ่งที่จำเป็นมากที่สุด คือ การรับรู้ข้อมลูต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางภัยพิบัติมากที่สุด เพื่อการตัดสินใจที่รววดเร็ว ผิดพลาดน้อยที่สุด GIS ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง และรวดเร็ว นอกจากนี้ GIS ยังวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น อยู่ในรัศมีที่จะได้รับผลกระทบ  รวมทั้งวิเคราะห์ทิศทางวางแผนอพยพผู้คน เส้นทางในการเคลื่อนย้าย การขนส่ง เพื่อกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการป้องกัน การวางแผนการช่วยเหลือ และทำการวิเคราะห์หรือสร้างภาพจำลองของเหตุการณ์เพื่อหาสาเหตุได้ทันที่ ตามสภาพของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลานั้นๆ


อ้างอิง: https://www.gotoknow.org/posts/549055

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

ความเป็นเมือง

         การขยายตัวของชานเมือง เป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการขยายตัวของเมือง เมื่อชานเมืองมีประชากรเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานหนาแน่นมากขึ้น มีความเจริญทั้งด้านสาธารณูปโภค และอุปโภค สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องชี้ส่วนหนึ่งของลักษณะกระบวนการกลายเป็นเมืองนั่นเอง

การขยายตัวของเมืองขนาดใหญ่ในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้เกิดชุมชนเมืองขึ้นใหม่ในเขตชานเมืองที่อยู่โดยรอบ จนเกิดเป็นชุมชนเมืองที่เรียกว่า มหานคร (Metropolis) ซึ่งเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยเมืองหลาย ๆ เมือง การเติบโตและการกระจายตัวของพื้นที่ที่เป็นมหานคร จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นพื้นที่เมืองประเภทใหม่ที่เรียกว่า มหานครหลวง (Megalopolis) ที่ประกอบไปด้วยมหานครหลาย ๆ มหานคร

เจ. จอห์น พาเลน (Palen 1987 : 9) อธิบายว่า ความเป็นเมือง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนประชากรของประเทศที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง อันเป็นผลมาจากการที่ประชาชนเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้าสู่เมืองหรือไปตั้งถิ่นฐานอยู่กันหนาแน่นบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นขบวนการซึ่งชนบทเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นเมืองนั้นเอง
ความเป็นเมือง เป็นกระบวนการทางนิเวศวิทยาอย่างหนึ่งที่มีรูปแบบการใช้ที่ดินที่และการขยายตัวของเมืองแตกต่างกันออกไป รูปแบบของกระบวนการทางนิเวศวิทยาที่นิยมนำมาใช้อธิบายการขยายตัวของความเป็นเมืองมี 
4 ทฤษฎีหลักดังนี้ (Wilson and Schulz, 1978 )

1.ทฤษฎีรูปดาว (Star theory)ริชาร์ด เอ็ม ฮูลด์ (Richard M. Hurd) อธิบายว่า การขยายตัวของเมืองนั้นเกิดมาจากบริเวณศูนย์กลางของเมืองที่เป็นที่รวมของเส้นทางคมนาคมสายหลักของเมือง อิทธิพลของเส้นทางคมนาคมจะมีผลทำให้เมืองขยายตัวออกไปตามเส้นทางรถยนต์ รถใต้ดิน และรถไฟ ประชาชนส่วนใหญ่จะนิยมอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่นบริเวณใกล้เคียงกับเส้นทางคมนาคมดังกล่าวในระยะที่สามารถเดินไปถึงได้สะดวก ต่อมาภายในเมืองได้มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมดีขึ้น ประชาชนภายในเมืองนิยมใช้รถยนต์กันมากขึ้น พื้นที่ว่างที่อยู่ระหว่างเส้นทางคมนาคมก็จะมีประชาชนเข้าไปอาศัยอยู่กันหนาแน่นมากขึ้น พื้นที่ว่างดังกล่าวก็เชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่เดียวกัน

2. ทฤษฎีวงแหวน (Concentric Zone Theory) เออร์เนสต์ ดับบิว. บูร์เกสส์ (Ernest W. Burgess) อธิบายว่า การขยายตัวของเมืองจะมีลักษณะเป็นรูปแบบวงแหวน เป็นรัศมีวงกลมต่อเนื่องจากเขตศูนย์กลาง และแบ่งพื้นที่ของเมืองออกเป็น 5 เขต ดังนี้

ขตที่ 1 เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ (The Central Business District : C.B.D.) ประกอบด้วยร้านค้า ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนต์ โรงแรม ธนาคาร และสำนักงานทางเศรษฐกิจ การปกครอง กฎหมาย เป็นต้น เป็นเขตที่มีคนหนาแน่นเวลากลางวันเพื่อทำธุรกิจและงานตามหน่วยงานต่าง ๆ มีคนจำนวนน้อยที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างถาวร เพราะส่วนใหญ่จะเดินทางไปพักอาศัยอยู่ที่เขตรอบนอก

เขตที่ 2 เป็นเขตศูนย์กลางการขนส่ง (The zone in transition) หรือบางครั้งอาจเรียกว่าเป็นเขตขายส่งและอุตสาหกรรมเบา (Wholesale and light manufacturing zone) รวมทั้งเป็นย่านโรงงานอุตสาหกรรมเก่า ๆ เป็นเขตที่มีปัญหาสังคมจำนวนมาก เช่น มีอัตราของการก่ออาชญากรรมสูง เป็นบริเวณของกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำที่อพยพมาจากชนบท พักอาศัยอยู่ในบ้านราคาถูกและทรุดโทรมใกล้ ๆ โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน แต่เมื่อคนกลุ่มนี้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น ก็จะย้ายออกไปอยู่ในที่แห่งใหม่ กรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินในเขตนี้จะเป็นของชนชั้นสูงที่ดำเนินกิจการในลักษณะของการให้ผู้อื่นเช่า ผู้พักอาศัยในเขตนี้
มีจำนวนน้อยที่มีที่ดินเป็นของตนเอง

เขตที่ 3 เป็นเขตที่อยู่อาศัยของกรรมกรและผู้ใช้แรงงาน (The zone of workingmens’ homes) ที่ย้ายออกมาจากเขตศูนย์กลางการขนส่ง สภาพที่อยู่อาศัยของคนในเขตนี้จะมีสภาพดีกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตศูนย์กลางการขนส่ง บ้านเรือนจะปลูกอยู่ในระยะห่างกันไม่ชิดติดกันเหมือนกับสลัม และเมื่อครอบครัวใดมีฐานะดีขึ้นก็จะย้ายออกไปอยู่ในเขตชนชั้นกลางต่อไป

เขตที่ 4 เป็นเขตชนชั้นกลาง (The middle class zone) มีที่พักอาศัยประเภทห้องชุด โรงแรม บ้านเดี่ยวสำหรับครอบครัวเดี่ยว ผู้อาศัยอยู่ในเขตนี้ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ พ่อค้า และรวมถึงชนชั้นผู้บริหารระดับกลาง

เขตที่ 5 เป็นเขตที่พักอาศัยชานเมือง (The commuters’ zone) มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก
ในการเดินทางเข้าไปทำงานหรือประกอบธุรกิจในเมือง เขตนี้จะมีทั้งชนชั้นกลางค่อนข้างสูง และชนชั้นสูง ที่เดินทางด้วยรถประจำทางและรถส่วนตัวเข้าไปทำงานเมืองและกลับออกมาพักอาศัยในเขตนี้



3. ทฤษฎีเสี้ยววงกลม (Sector theory)โฮเมอร์ ฮอยต์ (Homer Hoyt) อธิบายว่า รูปแบบของการขยายตัวของเมืองจะเหมือนกับเสี้ยววงกลมหรือรูปขนมพาย (Pie-shaped) และในแต่ละเมืองจะพบว่า การขยายตัวของเมืองออกไปยังพื้นที่ด้านนอกจะเป็นรูปเสี้ยววงกลมหนึ่งเสี้ยววงกลมหรือมากกว่าหนึ่งเสี้ยววงกลม และการขยายตัวของเมืองจะมีลักษณะดังนี้
1.การขยายตัวของเมืองจะขยายออกไปตามเส้นทางการคมนาคมขนส่ง ที่เชื่อมไปยังศูนย์กลางทางการค้าและที่อยู่อาศัยบริเวณอื่น ๆ
2.การขยายตัวของเมืองจะขยายออกไปตามพื้นที่สูงและแม่น้ำ ลำคลองในเขตพัฒนาอุตสาหกรรม
3.การขยายตัวของเมืองจะขยายออกไปตามที่อยู่อาศัยของชุมชนชั้นสูงของสังคมห้องพักอาศัยราคาสูงมักจะเกิดขึ้นบริเวณย่านธุรกิจใกล้ ๆ กับเขตที่อยู่อาศัยเก่า
4.เขตที่อยู่อาศัยค่าเช่าราคาสูง จะตั้งอยู่ติดกับเขตที่อยู่อาศัยค่าเช่าราคาปานกลาง



4.ทฤษฎีหลายจุดศูนย์กลาง (Multiple-nuclei theory)ชวนซี่ ดี. แฮร์รีส และเอ็ดวาร์ด แอล. อัลล์แมน (Chauncy D. Harris and Edward L. Ullman) อธิบายว่า การขยายตัวของเมืองเกิดมาจากหลายจุดศูนย์กลาง ไม่ได้เกิดมาจากศูนย์กลางที่ใดที่หนึ่งเพียงแห่งเดียว เพราะในยุคปัจจุบันเมืองอุตสาหกรรม มีการพัฒนาศูนย์กลางด้านธุรกิจ ศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรม และศูนย์กลางด้านที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นจากหลายแห่ง แฮร์รีสและอัลล์แมนได้เสนอแนวความคิดการขยายตัวของเมืองว่าเกิดจากหลายจุดศูนย์กลางมี 4 ประการดังนี้

1.ธุรกิจแต่ละประเภท มีความต้องการใช้ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกที่แตกต่างกัน ธุรกิจที่ต้องการใช้ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนกัน จะมารวมตัวอยู่บริเวณที่มีทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกให้ใช้เหมือนกัน เช่น เขตค้าปลีกจะตั้งอยู่ในทำเลที่ลูกค้าสามารถเดินทางเข้ามาซื้อสินค้าได้ง่ายและสะดวกจากทุกทิศทางของเมือง เขตเมืองท่าจะตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำหรือทะเล เขตอุตสาหกรรมหนักเป็นเขตที่ต้องการพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ติดกับเส้นทางคมนาคมขนส่ง เช่น แม่น้ำ ทะเล ถนน หรือใกล้กับเส้นทางรถไฟเพื่อสะดวกในการขนส่ง เป็นต้น

2.ธุรกิจที่เหมือนกันมักจะมีการรวมตัวอยู่บริเวณเดียวกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงการค้าจากการเปรียบเทียบและเลือกซื้อสินค้าของลูกค้า เช่น ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์จะไปรวมกลุ่มเป็นย่านขายรถยนต์ ทำให้ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติและราคากับผู้ค้ารายอื่น ๆ ได้ง่าย

3.การใช้ที่ดินของธุรกิจที่แตกต่างกันทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกันและไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ เช่น พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยไม่สามารถอยู่ในบริเวณเดียวกับเขตอุตสาหกรรม เพราะ พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยต้องการความสงบ มีการขนส่งที่ดี และไม่มีปัญหามลภาวะ แต่เขตอุตสาหกรรมเป็นเขตที่มีเสียงดัง มีการขนส่งและใช้ยานพาหนะทั้งวัน และมีปัญหามลภาวะ

4.บริเวณที่มีราคาที่ดินสูงมากเป็นอุปสรรคทำให้ธุรกิจบางประเภทไม่สามารถเข้าไปทำธุรกิจได้ เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าที่ดินในราคาแพงทำให้ไม่คุ้มกับการลงทุนและผลกำไรที่ได้รับ นักลงทุนจึงต้องหาทำเลที่ตั้งแหล่งใหม่ที่เหมาะสมกับธุรกิจของที่จะดำเนินการ

สรุปได้ว่า ความเป็นเมือง เป็นกระบวนการที่ประชากรมาอยู่รวมกันมากขึ้น ทั้งด้านจำนวน และความหนาแน่น ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง อันเป็นผลทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรเหล่านั้นเปลี่ยนไปสู่วิถีชีวิตแบบเมือง




อ้างอิง :
http://www.dpt.go.th/ITCitdb/txt/pop/urban4.htm

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

การตั้งถิ่นฐาน (Settlement)
          
           การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความหมายกว้างขวาง  สามารถแยกพิจารณาได้หลายแง่มุม  แต่สำหรับนักภูมิศาสตร์ นักผังเมือง สถาปนิก มีมุมมองการตั้งถิ่นฐานจากทรรศนะเดียวกัน คือ  “การตั้งถิ่นฐาน (Settlement) จัดเป็นระบบเปิดแบบพลวัตร (Dynamic)  อันมีองค์ประกอบร่วมกันของ ประชากร รูปแบบ และองค์ประกอบย่อย  ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันกับสภาพแวดล้อมทางสังคม  และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจะซับซัอนมากขึ้นเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มบ้าน  หมู่บ้าน เมืองเล็กๆ ไปจนถึงเมืองขนาดใหญ่”
คำจำกัดความของการตั้งถิ่นฐาน (Settlement Diffenition)  มีดังนี้

      -ไพฑูรย์ (พ.ศ. 2531) กล่าวว่า การตั้งถิ่นฐาน (Settlement) เป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่มนุษย์เข้าไปบุกเบิกครอบครองและดัดแปลงพื้นที่เพื่อตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัยและทํามาหากิน แหล่งที่ตั้งถิ่นฐานที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐานที่เหมือนกัน คือ มีอาหาร น้ําและที่กําบังภัยการตั้งถิ่นฐานแต่ละแห่งจึงเปรียบเสมือนระบบ ๆ หนึ่งที่ค่อย ๆ มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและมีความซับซ้อนมากขึ้นตามกาลเวลา โดยมีมนุษย์เป็นองค์ประกอบหลักของระบบที่เข้าไปอาศัยธรรมชาติดัดแปลงธรรมชาติสร้างที่อยู่อาศัย ที่เพาะปลูกถนน และจัดองค์กรสังคมให้เกิดขึ้น


     - Hagget  and  Chorley  (ค.ศ. 1967)  ฮักแก็ต  และ คลอรีย์  นักภูมิศาสตร์กล่าวว่า  การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสภาพแวดล้อม แหล่งการตั้งถิ่นฐานคือรูปแบบที่มองเห็นได้ชัดเจนจากลักษณะภูมิประเทศ  เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพื้นที่ในอดีต ในด้านของการเชื่อมโยงระหว่างสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ และทรรศนะการครอบครองพื้นที่

     - Braek  and  Webb (ค.ศ. 1968) เบรก  และ แวบบ์  ซึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์  ได้ให้คำจำกัดความของการตั้งถิ่นฐานว่า หมายถึง  เครื่องมือ  อุปกรณ์ และความสะดวกสบายต่างๆ ที่มนุษย์คิดขึ้นมา  เมื่อตั้งตัวอยู่เป็นหลักแหล่งแล้ว  การตั้งถิ่นฐานจึงประกอบไปด้วยตัวมนุษย์  อาคาร บ้านเรือน ทรัพย์สมบัติ ถนนหนทาง ตลอดจน แนวรั้วที่แบ่งแยกเขตอาคารออกจากกัน และรวมไปถึงบทบาทหน้าที่และรูปร่างของแหล่งตั้งถิ่นฐาน เหล่านี้เป็นผลรวมของวัฒนธรรมของแต่ละสังคมซึ่งจะแตกต่างกันออกไป

     - องค์การสหประชาชาติ (UN , ค.ศ. 1974) ให้คำจำกัดความว่า  การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์หมายถึงองค์กร(Organism) ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นจำนวนมาก หน้าที่อันซับซ้อนภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  ทั้งองค์ประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้น  และองค์ประกอบทางธรรมชาติ รวมกันเป็นถิ่นที่อาศัยซึ่งมนุษย์ต้องใช้เป็นแหล่งดำเนินชีวิต เลี้ยวดูครอบครัว ประกอบอาชีพ ตลอดจนแสวงหาการกินดี อยู่ดี ทางด้านกายภาพ จิตใจ  และสติปัญญา

     - Doxiadis  (ค.ศ. 1976)  ดอกซิแอดิส   นักผังเมือง ให้คำจำกัดความว่า การตั้งถิ่นฐานหมายถึงการจัดรูปแบบพื้นที่ โดยมนุษย์เพื่อมนุษย์  เพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ และยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามลำดับ การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ต้องอาศัยมิติของเวลา และสถานที่ เริ่มจากจักรภพ ลงมาถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  บรรยากาศ  ตัวมนุษย์  และการตั้งถิ่นฐาน มีขนาดตั้งแต่ที่อาศัยชั่วคราว ไปจนถึงกึ่งถาวรและถาวร ดังนั้นการศึกษาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ต้องพิจารณาจากเกณฑ์ 5 ประการ ประกอบด้วย 

1) สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ (Natural environment) ถือเป็นตัวกําหนดขอบเขตที่ชุมชนจะถูกสร้างขึ้นมา 
2) คน(Anthropos) 
3) สังคม (Society) เป็นระบบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ด้วยกัน 
4) โครงสร้างทางกายภาพ (Shells) ได้แก่ที่อยู่อาศัยและสิ่งอํานวยความสะดวกที่มนุษย์เป็นผู้สร้างและจัดวางลงบนพื้นที่ เช่น อาคารบ้านเรือน ศูนย์การค้า พื้นที่อุตสาหกรรม ฯลฯและ 
5) ระบบโครงข่าย (Networks) เป็นระบบทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น เพื่ออํานวยความสะดวกในการอยู่อาศัยและทํากิจกรรมของมนุษย์ได้แก่ ระบบเครือข่ายแม่น้ําลําคลองระบบไฟฟ้า ประปาการติดต่อสื่อสารฯลฯ
       ส่วนขนาดและพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานที่เริ่มจากระดับปัจเจกบุคคลไปจนถึงระดับมหานครขนาดใหญ่แต่ละแห่งขึ้นอยู่กับสภาพของทําเลที่ตั้งและความสัมพันธ์โดยรวมขององค์ประกอบทั้ง 5 โดยระบบจะพยายามรักษาสภาวะสมดุลขององค์ประกอบระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยผ่านการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีวัฒนธรรม และการเมือง-การปกครอง ทั้งนี้เพื่อให้คนในชุมชนสามารถดํารงอยู่ได้อย่างสงบสุข อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าความหมายของการตั้งถิ่นฐาน มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ซับซ้อน ครอบคลุมมากขึ้น อันเนื่องมาจากการพัฒนาการของการศึกษา และพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานที่เป็นพลวัตร (Dynamic) คือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และซับซ้อนขึ้นนั่นเอง

อ้างอิง :
http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning50/la471/course_chapt_01-1.html
http://203.114.124.2/elnweb/Photo/342/342_100.pdf