การนำ GIS มาประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านภัยพิบัติ
GIS
: Geographic Information System เรียกเป็นไทยว่า
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
GIS เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง
ซึ่งประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมหรือชุดคําสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานตามที่ต้องการโดยโปรแกรมทางด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์
โดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่(spatial
data) คือข้อมูลที่ทราบตําแหน่งบนพื้นโลกสามารถอ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้(geo-reference)
โดยข้อมูลเหล่านี้จะแสดงอยูใน 3 ลักษณะคือจุด(point)
เส้น(line) และพื้นที่รูปหลายเหลี่ยม(polygon)
และข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปเชิงพื้นที่(non spatial data) ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณลักษณะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นๆ(associated
attributes)โดยใช้บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการค้นหาข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผลข้อมูลที่สามารถอ้างกับพิกัดทางภูมิศาสตร์ได้ GIS จะให้สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการทํางานและการตัดสินใจของผู้บริหารในขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายการวางแผน
ตลอดจนการนํานโยบายและแผนไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำ GIS มาประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านภัยพิบัติ สิ่งที่จำเป็นมากที่สุด คือ การรับรู้ข้อมลูต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางภัยพิบัติมากที่สุด เพื่อการตัดสินใจที่รววดเร็ว ผิดพลาดน้อยที่สุด GIS ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง และรวดเร็ว นอกจากนี้ GIS ยังวิเคราะห์ผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น อยู่ในรัศมีที่จะได้รับผลกระทบ รวมทั้งวิเคราะห์ทิศทางวางแผนอพยพผู้คน เส้นทางในการเคลื่อนย้าย การขนส่ง เพื่อกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการป้องกัน การวางแผนการช่วยเหลือ และทำการวิเคราะห์หรือสร้างภาพจำลองของเหตุการณ์เพื่อหาสาเหตุได้ทันที่ ตามสภาพของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลานั้นๆ
อ้างอิง: https://www.gotoknow.org/posts/549055
อ้างอิง: https://www.gotoknow.org/posts/549055
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น