การตั้งถิ่นฐาน (Settlement)
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความหมายกว้างขวาง สามารถแยกพิจารณาได้หลายแง่มุม แต่สำหรับนักภูมิศาสตร์ นักผังเมือง สถาปนิก มีมุมมองการตั้งถิ่นฐานจากทรรศนะเดียวกัน คือ “การตั้งถิ่นฐาน (Settlement) จัดเป็นระบบเปิดแบบพลวัตร (Dynamic) อันมีองค์ประกอบร่วมกันของ ประชากร รูปแบบ และองค์ประกอบย่อย ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันกับสภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยรูปแบบการตั้งถิ่นฐานจะซับซัอนมากขึ้นเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น เช่น กลุ่มบ้าน หมู่บ้าน เมืองเล็กๆ ไปจนถึงเมืองขนาดใหญ่”
คำจำกัดความของการตั้งถิ่นฐาน (Settlement Diffenition) มีดังนี้
- Hagget and Chorley (ค.ศ. 1967) ฮักแก็ต และ คลอรีย์ นักภูมิศาสตร์กล่าวว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสภาพแวดล้อม แหล่งการตั้งถิ่นฐานคือรูปแบบที่มองเห็นได้ชัดเจนจากลักษณะภูมิประเทศ เป็นความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพื้นที่ในอดีต ในด้านของการเชื่อมโยงระหว่างสภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ และทรรศนะการครอบครองพื้นที่
- Braek and Webb (ค.ศ. 1968) เบรก และ แวบบ์ ซึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์ ได้ให้คำจำกัดความของการตั้งถิ่นฐานว่า หมายถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ และความสะดวกสบายต่างๆ ที่มนุษย์คิดขึ้นมา เมื่อตั้งตัวอยู่เป็นหลักแหล่งแล้ว การตั้งถิ่นฐานจึงประกอบไปด้วยตัวมนุษย์ อาคาร บ้านเรือน ทรัพย์สมบัติ ถนนหนทาง ตลอดจน แนวรั้วที่แบ่งแยกเขตอาคารออกจากกัน และรวมไปถึงบทบาทหน้าที่และรูปร่างของแหล่งตั้งถิ่นฐาน เหล่านี้เป็นผลรวมของวัฒนธรรมของแต่ละสังคมซึ่งจะแตกต่างกันออกไป - องค์การสหประชาชาติ (UN , ค.ศ. 1974) ให้คำจำกัดความว่า การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์หมายถึงองค์กร(Organism) ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นจำนวนมาก หน้าที่อันซับซ้อนภายใต้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งองค์ประกอบที่มนุษย์สร้างขึ้น และองค์ประกอบทางธรรมชาติ รวมกันเป็นถิ่นที่อาศัยซึ่งมนุษย์ต้องใช้เป็นแหล่งดำเนินชีวิต เลี้ยวดูครอบครัว ประกอบอาชีพ ตลอดจนแสวงหาการกินดี อยู่ดี ทางด้านกายภาพ จิตใจ และสติปัญญา - Doxiadis (ค.ศ. 1976) ดอกซิแอดิส นักผังเมือง ให้คำจำกัดความว่า การตั้งถิ่นฐานหมายถึงการจัดรูปแบบพื้นที่ โดยมนุษย์เพื่อมนุษย์ เพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ และยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามลำดับ การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ต้องอาศัยมิติของเวลา และสถานที่ เริ่มจากจักรภพ ลงมาถึงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ บรรยากาศ ตัวมนุษย์ และการตั้งถิ่นฐาน มีขนาดตั้งแต่ที่อาศัยชั่วคราว ไปจนถึงกึ่งถาวรและถาวร ดังนั้นการศึกษาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ต้องพิจารณาจากเกณฑ์ 5 ประการ ประกอบด้วย 1) สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ (Natural environment) ถือเป็นตัวกําหนดขอบเขตที่ชุมชนจะถูกสร้างขึ้นมา 2) คน(Anthropos) 3) สังคม (Society) เป็นระบบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์ด้วยกัน 4) โครงสร้างทางกายภาพ (Shells) ได้แก่ที่อยู่อาศัยและสิ่งอํานวยความสะดวกที่มนุษย์เป็นผู้สร้างและจัดวางลงบนพื้นที่ เช่น อาคารบ้านเรือน ศูนย์การค้า พื้นที่อุตสาหกรรม ฯลฯและ 5) ระบบโครงข่าย (Networks) เป็นระบบทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น เพื่ออํานวยความสะดวกในการอยู่อาศัยและทํากิจกรรมของมนุษย์ได้แก่ ระบบเครือข่ายแม่น้ําลําคลองระบบไฟฟ้า ประปาการติดต่อสื่อสารฯลฯ ส่วนขนาดและพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานที่เริ่มจากระดับปัจเจกบุคคลไปจนถึงระดับมหานครขนาดใหญ่แต่ละแห่งขึ้นอยู่กับสภาพของทําเลที่ตั้งและความสัมพันธ์โดยรวมขององค์ประกอบทั้ง 5 โดยระบบจะพยายามรักษาสภาวะสมดุลขององค์ประกอบระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยผ่านการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีวัฒนธรรม และการเมือง-การปกครอง ทั้งนี้เพื่อให้คนในชุมชนสามารถดํารงอยู่ได้อย่างสงบสุข อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าความหมายของการตั้งถิ่นฐาน มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ซับซ้อน ครอบคลุมมากขึ้น อันเนื่องมาจากการพัฒนาการของการศึกษา และพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานที่เป็นพลวัตร (Dynamic) คือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และซับซ้อนขึ้นนั่นเอง อ้างอิง : http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning50/la471/course_chapt_01-1.html http://203.114.124.2/elnweb/Photo/342/342_100.pdf |
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี่ด้วยนะค่ะ ยังมือสมัครเล่นอยู่^^
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบแล้วก่อนจะเป็นสมอทอดนี่เป็นอะไรมาก่อนคะ
ตอบลบเป็นสมอย่างค่ะ ^^
ตอบลบ